สัดส่วนการเจียระไนเพชรที่สวยไฟดี

 

1. Pavilian 

     มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาที่ดวงตา หากพาวิลเลี่ยนตื้นเกินไป เอฟเฟกต์ฟิชอาย มักจะปรากฏและความสว่างเม็ดเพชรจะลดลง ผู้ค้าเพชรบางรายเรียกเพชรเหล่านี้ว่า “flat” คำว่า “flat” ยังใช้กับกับส่วน Crown ที่บางมากอีกด้วย

     ถ้าพาวิลเลี่ยนลึกเกินไป เพชรจะดูมืดตรงกลาง เพชรที่มีสีดำตรงกลางเรียกว่า nailhead ในรายงานการจัดระดับเพชรส่วนใหญ่ ไดอะแกรมมักจะระบุเปอร์เซ็นต์ความลึกของพาวิลเลี่ยน โดยวัดจากระยะทางแนวตั้งฉากจาก Girdle ถึง culet ซึ่งเมื่อเปอร์เซ็นต์ความลึกของพาวิลเลี่ยนลดลงต่ำกว่า 41% ฟิชอายจะเริ่มก่อตัวขึ้น เปอร์เซ็นต์ความลึกของพาวิลเลียนยิ่งต่ำ ฟิชอายก็จะยิ่งชัดเจน กล่าวอีกนัยหนึ่งพาวิลเลี่ยนยิ่งตื้นก็ยิ่งมองเห็นฟิชอายได้มากขึ้น แต่ถ้าเมื่อเปอร์เซ็นต์ความลึกของพาวิลเลี่ยนเพิ่มขึ้นสูงกว่า 48% เพชรจะเข้มขึ้นที่ตรงกลาง

     รายการด้านล่างคือช่วงมุมของพาวิลเลี่ยนที่จำเป็นสำหรับเกรดคุณภาพของ GIA

องศา

ความหมาย

40.6 – 41.8

Excellent

39.8 – 42.4

Very good

38.8 – 43.0

Good

37.4 – 44.0

Fair

น้อยกว่า 37.4 /มากกว่า 44.0

Poor

     สำหรับผลในใบรายงานของห้องปฏิบัติการนั้น โดยปกติจะประกอบด้วยเปอร์เซ็นต์ความลึกทั้งหมดของเม็ดเพชร (ความลึกจากTable – culet) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเพชรจะมีความลึกโดยรวมที่ดี แต่ก็อาจมีส่วน Crown และ Pavilian ที่ยังไม่ได้สัดส่วน ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถระบุได้ว่าพาวิลเลี่ยนของเพชรมีการสะท้อนแสงที่ดีหรือไม่ เพียงแค่อ่านรายงานจากห้องปฏิบัติการที่แสดงเฉพาะเปอร์เซ็นต์ความลึกรวมเท่านั้น

%ความสูงรวม (Total depth percentage )

ความหมาย

57.5 – 63.0

Excellent

56.0 – 64.5

Very good

53.0 – 66.5

Good

51.9 – 70.9

Fair

น้อยกว่า 51.9 / มากกว่า 70.9

Poor

 

pavilion-พาวิลเลี่ยน-เพชร-เจียระไน-สูงเกินไป

สูงเกินไป

pavilion-พาวิลเลี่ยน-เพชร-เจียระไน-พอดี-สวย

สมส่วน

pavilion-พาวิลเลี่ยน-เพชร-เจียระไน-เตี้ยเกินไป-ต่ำ

ต่ำเกินไป

 

2. Crown

    Crown (ด้านบนของเพชรเหนือ Girdle) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดประกายไฟที่ดีของเพชร หาก Crown บางหรือตื้นเกินไป เพชรจะมีประกายและไฟลดลง ซึ่งหาก Crown ยิ่งตื้น องศาของCrown ก็จะยิ่งเล็กลงตามมุมระหว่าง Girdle และ Bezel

    เพชรที่มีCrown สูงสามารถมีประกายไฟได้มาก ปัญหาคือเม็ดเพชรจะดูเล็กกว่าน้ำหนักที่ควรจะเป็น เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปกระจุกอยู่บริเวณ Crown และ ประกายจะไม่กระจายไปทั่วทั้งเม็ด เราสามารถสังเกตุเพชรเม็ดที่มี Crown สูงง่ายๆได้จากการมองมุมด้านข้าง

     และถึงแม้เพชรจะมี Crown ที่ตื้น แต่ก็ยังคงมีความแวววาวที่ดี ดังนั้นความสูงของ Crown จึงไม่ส่งผลกระทบต่อราคามากเท่ากับความลึกโดยรวมของเพชร ในความเป็นจริงแล้วเพชรเจียระไนทรง Princess cut มักมี Crown ที่บาง แต่ยังคงมีประกายที่ดี โดยเราสามารถตรวจสอบคุณภาพความสวยงามมุมของ Crown ได้ในใบเซอร์สถาบันดังนี้

องศา

ความหมาย

31.5 – 36.5

Excellent

26.5 – 38.5

Very good

22.0 – 40.0

Good

20.0 – 41.5

Fair

น้อยกว่า 20.0  / มากกว่า 41.5

Poor

     การวัดในกรณีอื่นที่พบในไดอะแกรมของรายงานเพชรคือเปอร์เซ็นต์ความสูงของ Crown (ระยะห่างระหว่าง Table – Girdle) มีดังนี้

%ความสูงCrown (Crown Height percentage )

ความหมาย

12.5 – 17.0

Excellent

10.5 – 18.0

Very good

9.0 – 19.5

Good

7.0 – 21.0

Fair

น้อยกว่า 7.0 / มากกว่า 21.0

Poor

เพชร-crown-ความสูง-เกินไป-มงกุฏ

สูงเกินไป

เพชร-crown-ความสูง-ต่ำ-มงกุฏ

ต่ำเกินไป

 

3. Table  

     ขนาดของ Table (แผ่นบนด้านหน้าของเพชรที่ขนาดใหญ่สุด) ก็มีบทบาทในการกำหนดประกายไฟด้วยเช่นกัน ขนาด Table นั้นสัมพันธ์กับองศา Crown และความสูงของ Crown อีกด้วย ซึ่งเมื่อเพชรมี Crown ที่บาง Table จะมีขนาดใหญ่   

     Table percentage คือ เปอร์เซ็นต์ที่หาจากเส้นผ่านศูนย์กลางของ Girdle โดยเฉลี่ย

     เพชรที่มี Table ขนาดเล็กมักจะมีไฟมากกว่า ในขณะที่เพชรที่มี Table ขนาดใหญ่กว่าเน้นประกายของเพชรมากกว่า ทั้งนี้คงเป็นการยากที่เราจะสรุปว่าแบบไหนดีกว่า ซึ่ง GIA ได้คำนวน %Table ของเพชรมีความสวยงามมาให้เราเรียบร้อยแล้ว ดังตารางด้านล่าง

%ความกว้างของ Table (Table percentage )

ความหมาย

52 – 62

Excellent

50 – 66

Very good

47 – 69

Good

44 – 72

Fair

น้อยกว่า 44 / มากกว่า 72

Poor

     อีกวิธีหนึ่งแต่แม่นยำน้อยกว่าในการประมาณและเปรียบเทียบขนาด Table ในกรณีที่เพชรไม่มีใบเซอร์คือวิธีมองจากแสงแฟลช โดยค่อยๆ เอียงเพชรไปมาภายใต้แสงและสังเกตแสงแฟลชสีขาวที่สะท้อนจากโต๊ะ ยิ่ง Table มีขนาดใหญ่แฟลชยิ่งเห็นได้ใหญ่ขึ้น

table-หน้าตรง-เพชร-diamond-เจียระไน

 

4. Girdle

     เหตุผลที่เราจำเป็นต้องเจียระไน Girdle นั่นเพราะความหนาของ Girdle เล็กน้อยบนเพชรจะช่วยป้องกันเพชรจากการกระแทก หาก Girdle หนาเกินไป จะเพิ่มน้ำหนักให้กับเพชรโดยไม่จำเป็น และบางครั้งอาจทำให้รูปลักษณ์ภายนอกเสียไปโดยทำให้เกิดเงาสะท้อนสีเทาในหินได้ หาก Girdle บางเกินไปจนมีลักษณะคม นั่นถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะเพชรอาจบิ่นหรือแตกได้ง่าย

     ความหนาของ Girdle จะพิจารณาจากขนาดรวมของเพชรและมีระดับตั้งแต่บางมาก (ขอบคมมีด) ไปจนถึงหนามาก (หนามากจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและอาจใส่ลงในเครื่องประดับได้ยาก) โดยมีสูตรดังนี้

Girdle thickness% = total depth% -(Crown height%+Pavilion depth%)

ซึ่ง GIA ได้สรุปความหนาของ Girdle เป็น%ให้เราตรวจสอบคุณภาพได้ดังนี้

%ความหนาของ Girdle (Girdle thickness%)

ความหมาย

2.5 – 4.5

Excellent

0 – 5.5

Very good

0 – 7.5

Good

0 – 10.5

Fair

มากกว่า 10.5

Poor

girdle-thick-หนา-เกอเดิล-เพชร-เจียระไน

หนาเกินไป

girdle-normal-ปกติ-เกอเดิล-เพชร-diamond

สมส่วน

girdle-thi-บาง-เกอเดิล-เพชร-เจียระไน

บางเกินไป

 

5. Culet

     เป็นเหลี่ยมด้านปลายล่างสุดที่เจียระไนบนเพชร มีไว้เพื่อป้องกันด้านล่างของเพชรจากการขูดขีดและการแตกบิ่นเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพชรทุกเม็ดที่เจียระไน Culet โดยทั่วไปเพชรไซส์ต่ำกว่า 0.25 กะรัตมักไม่มีการเจีย Culet เลย  เพชรรูปแบบ Old cut (เจียระไนเหลี่ยมเก่า)ในอดีตนั้น มักมีการเจียระไน Culet ขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก เพชรเหล่านี้เป็นที่ต้องการสูงของพ่อค้ารับซื้อของเก่า และ ไม่ถูกมองว่ามีคุณภาพต่ำแต่อย่างใด (สามารถอ่านบทความ เพชรหนักเท่ากันทำไมขนาดถึงต่างกัน ได้ที่ลิ้งนี้)

culet-คิวเล็ท-เพชร-เจียระไน-เพชร-เจียระไน

 

6. เพชร HEART AND ARROW คืออะไร?

            หลายคนคงจะเคยได้ยินคำนี้อยู่บ่อยครั้ง ว่าคือเพชรอะไร แล้วสวยจริงไหม ? เราต้องมาเริ่มที่พื้นฐานของการประเมิณสัดส่วนและความสมมาตรเพชร ว่าแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ EXCELLENT, VERY GOOD, GOOD, FAIR เป็นมาตรฐานสากลโลก โดยการที่เพชรเม็ดนั้นมี HEART AND ARROW เป็นเครื่องแสดงว่าอยู่ในระดับ  EXCELLENT, VERY GOOD ซึ่งเราพอจะคาดเดาได้ว่าเป็นเพชรที่มีคุณภาพดีมาก แต่ทั้งนี้ไมได้แปลว่าเป็นเพชรที่สวยงามที่สุดมากกว่าเหลี่ยมเกสร เนื่องจากเหลี่ยมเกสรก็สามารถเป็นได้ทั้ง EXCELLENT, VERY GOOD, GOOD, FAIR นั่นแสดงให้เป็นว่า ทั้ง 2 แบบนี้สามารถสวยและไม่สวยกว่ากันได้ทั้งคู่  แต่การที่เราเลือกเหลี่ยม HEART AND ARROW ก็ดูจะมีโอกาสมากกว่าที่จะได้เพชรเม็ดที่สวยมากกว่าเหลี่ยมทั่วไป นั่นเอง

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้